โลจิสติกส์สินค้าเกษตรไทย – จีน

ขนส่งจีน

ปัจจุบันช่องทางการตลาดของการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการส่งออกสินค้าเกษตรไทยกับจีน มีแนวโน้มว่ามีการส่งสินค้าเกษตรไปยังจีนเพิ่มมากขึ้น ไม่วาจะเป็นการขนส่งสินค้าเกษตรผลไม้สด ผลไม้แปรรูป น้ำผลไม้หรืออาหารไทย ซึ่งถือเป็นที่ถูกใจของคนจีนมากและมีโอกาสที่จะเข้าไปมีส่วนแบ่งทางการตลาด-

โลจิสติกส์ คืออะไร

ซึ่งคำว่า โลจิสติกส์ มาจากภาษาฝรั่งเศสคำว่า logistique ที่มีรากศัพท์คำว่า โลเชร์ (loger) ที่หมายถึงการเก็บ ซึ่งความหมายจริงๆ ของมันก็คือ ระบบการจัดการการส่งสินค้า ข้อมูล และทรัพยากรอย่างอื่นจากจุดต้นทางไปยังจุดบริโภคตามความต้องการของลูกค้า หรือที่พูดกันง่ายๆ ก็คือ การเคลื่อนย้าย จัดเก็บ กระจายสินค้า บริการ หรือข้อมูลจากแหล่งที่ผลิตไปถึงแหล่งที่มีความต้องการ โดยมีความเกี่ยวข้องกับการผสมผสานของ ข้อมูล การขนส่ง การบริหารวัสดุคงคลัง การจัดการวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ โลจิสติกส์เป็นช่องทางหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานที่เพิ่มมูลค่าของการใช้ประโยชน์ของเวลาและสถานที่ ด้วยกระบวนการแบบบูรณาการ โดยเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีเป้าหมายในการส่งมอบสินค้าให้ทันเวลา เพื่อลดต้นทุน สร้างความพอใจแก่ลูกค้า และส่งเสริมให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการ

ระบบโลจิสติกส์สินค้าเกษตรไทย – จีน

เริ่มต้นจากผู้จัดส่งวัตถุดิบไปสู่ผู้ผลิต ส่งต่อไปยังผู้กระจายสินค้าและผู้ขายสิ้นสุดปลายทางที่ลูกค้า ซึ่งในแต่ละส่วนจะมีกิจกรรมการดำเนินการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการไหลส่งผ่านวัตถุดิบในระบบโลจิสติกส์ เพื่อให้สามารดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและต้องมีต้นทุน(Logistics Cost) ที่ต่ำที่สุด ซึ่งมีคุณลักษณะสินค้าเกษตรส่งออกผ่านศุลกากรเชียงของและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสินค้าเกษตร โดยหลังจากดำเนินการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว สินค้าเกษตรจะถูกขนส่งข้ามแม่น้ำโขง จากนั้นรถจะเคลื่อนย้ายเข้าสู่ลานเปลี่ยนถ่ายสินค้าและดำเนินการตรวจสอบเอกสารและคุณลักษณะของสินค้า โดยเจ้าหน้าที่จากศุลกากรด่านบ่อหานและจาก CIQ ของจีน โดยภายหลังการดำเนินการ พิธีการที่ด่านโมหานเสร็จสิ้นแล้ว ขนส่งจีนจะทำการขนสินค้าไปยังศูนย์กระจายสินค้าคุนหมิง การที่ขนส่งจีนต้องขนถ่ายสินค้าส่งผลให้สินค้าเกษตรมีโอกาสที่จะได้รับความเสียจากความช้ำจากการขนถ่ายสินค้า และมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งในระบบทำความเย็น เพื่อรักษาคุณภาพของผลิตผลเกษตรตลอดการขนส่งเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ทางกระทรวงเกษตรฯ ได้ขับเคลื่อนโลจิสติกส์เกษตรของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอำนวยความสะดวกด้านการส่งออก-นำเข้าสินค้าเกษตรไปยังต่างประเทศหรือประเทศที่สาม เพื่อผลักดันในช่องทางการค้าสินค้าเกษตรไทยให้มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น